วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

สรุป แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ และการออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค

แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ

สารสนเทศที่นำเสนอ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว ต่างๆเหล่านี้นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งแนวทางในการออกแบบ ได้แก่
1. ควรนำเสนอสาระที่พอควรในแต่ละหน้าจอ ถ้าใส่แน่นเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง
2. กรณีที่ต้องนำเสนอเนื้อหาจำนวนมาก ควรเสนอเนื้อหานั้นเป็นกลุ่มย่อยๆและเป็นช่วงๆ
3. กรณีใช้กรอบวินโดวส์ในการนำเสนอ เพื่อวัตถุประสงค์ ได้แก่

3.1 ดึงความสนใจของผู้เรียน
3.2 ลดความแน่นของหน้าจอ
3.3 สร้างรูปแบบการนำเสนอ
4. ใช้ปุ่มที่เข้าใจง่ายและดึงความสนใจของผู้เรียน
5. นำเสนอด้วยรูปภาพ ไดอะแกรม และโฟล์ชาร์ต เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวม เข้าใจง่ายและจดจำได้
6. เทคนิคที่ช่วยนิเทศก์ผู้เรียน
6.1 วางเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆให้คงที่
6.2 วางผังหน้าจอให้สม่ำเสมอ
6.3 กำหนดรูปแบบของทัศนะบนหน้าจอให้คงที่
6.4 ใช้สีและรูปร่างเป็นตัวชี้แนะ
6.5 ใช้ป้ายหรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง
6.6 ให้มีมุมมองแบบนกมอง คือ มองได้ทั้งระยะใกล้และไกล

7. เทคนิคในการกำหนดตำแหน่งสาระบนหน้าจอ
7.1 วางสาระสำคัญในตำแหน่งที่สำคัญ
7.2 แสดงสาระที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างหน้าจอต่อหน้าจอ
7.3 วางสาระที่แสดงอยุ่ปัจจุบันไว้ในตำแหน่งคงที่
8. เมื่อต้องการแสดงสาระสำคัญที่ต้องการดึงดูดหรือนำสายตาผู้เรียน ให้ใช้เทคนิคต่างๆ
9. เทคนิคที่ช่วยในการชี้แนะสาระ
10. เทคนิคเกี่ยวกับสี

การออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค (LO)

ต้องอาศัยทีมงานในการทำงานอย่างน้อย ได้แก่
1) ผู้ชำนาญด้านเนื้อหา
2) นักออกแบบการเรียนการสอน
3) นักออกแบบกราฟิก

4) ผู้เขียนโปรแกรมขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนการพัฒนาเนื้อหา

1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.2 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดความเหมาะสมของกิจกรรม
1.4 เขียนสตอรี่บอร์ด เป็นการกำหนดสิ่งที่จะปรากฎบนหน้าจอ
1.5 เขียนโฟล์วชาร์ต ซึ่งช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน้าจอแต่ละหน้า
2. การผลิต ทีมงานจะทำงานตามสตอรี่บอร์ดและแผน ที่ได้วางไว้
2.1 ทีมงานผลิตทำการศึกษาโฟล์วชาร์ตและสตอรี่บอร์ดโดยละเอียด
2.2 ทีมงานผลิตให้คำแนะนำแก่นักออกแบบหรือหัวหน้าผู้พัฒนาคอร์สเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
2.3 กรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ทีมงานผลิตอาจแยกความรับผิดชอบงานออกเป็นชิ้นย่อยๆ จึงลงมือสร้าง และนำมารวบรวม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น