วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความ "ยาสีฟัน"

ฟันของคนเราจริงๆแล้วมีสีดำ คนสมัยก่อนจึงชอบกินหมาก นอกจากจะช่วยบำรุงรากฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยรักษาสีดำของฟันให้เป็นสีดำที่เนียนเงางามอีกด้วย ตากี้ แห่งหมู่บ้านคลองเกต เป็นชายตัวดำขี้โม้ ชอบกินขนมโก๋แล้วไม่บ้วนปาก ทุกมื้อเช้า กลางวัน เย็น ก่อนและหลังอาหาร ตากี้ต้องหยิบขนมโก๋ขึ้นมากิน เขาชอบรสชาติของการเลียเศษขนมโก๋ที่ติดอยู่ตามไรฟันเป็นที่สุด ตั้งแต่เด็กจนแก่ ตากี้ก็ยังกินขนมโก๋แล้วไม่บ้วนปากอยู่อย่างนั้น จนมีฟันเป็นสีขาว เป็นสีขาวตามขนมโก๋นั่นเอง ไม่มีใครคบตากี้เป็นเพื่อน เพราะตากี้มีฟันสีขาว โบราณว่าไว้ว่า “คนผมหยิก คอสั้น ฟันขาว” เป็นคนคบไม่ได้ ซึ่งตากี้มีครบทุกอย่างตามนั้น เขาจึงต้องหลบๆซ่อนๆตัวเองอยู่ในกระท่อมท้ายคลองเพียงลำพัง เขาเฝ้าฝึกปรือฝีมือการทำขนมโก๋ไว้กินเองจนชำนาญ วันเวลาผ่านเลยไป คนรุ่นใหม่ๆเกิดขึ้นมา มีเด็กอยู่กลุ่มหนึ่ง วิ่งเล่นไล่จับกันจนมาเจอตากี้ที่กระท่อม เห็นตากี้มีฟันขาวก็เลยสงสัย ตากี้อารมณ์ดีก็โม้ไปเรื่อยว่า พวกหัวสมัยใหม่ในเมืองกรุง ตอนนี้กำลังนิยมมีฟันสีขาวกันมากเด็ก ๆ อยากมีฟันสีขาวบ้าง ตากี้จึงแบ่งขนมโก๋ให้กิน เด็ก ๆ กินแล้วฟันไม่ขาว ตากี้บอกฟัน จะขาวได้ต้องกินขนมโก๋แบบไม่บ้วนปากนานเป็นสิบ ๆ ปี เด็กๆบ่นรอไม่ไหว ตากี้จึงผสมสูตรทำขนมโก๋ขึ้นมาใหม่ เป็นขนมโก๋แบบเหนียวๆ คราวนี้กินครั้งเดียว ฟันขาวติดทนนาน แม้จะบ้วนปากกี่ครั้งก็ยังขาวอยู่ เด็กๆชอบใจ เอาฟันขาวไปอวดพ่อแม่ตอนแรกก็โดนด่า แต่พอบอกว่าตอนนี้พวกหัวสมัยในเมืองเขานิยม พ่อแม่ก็เลยอยากทันสมัยกับเขาบ้าง จากหมู่บ้านเล็ก ขยายไปหมู่บ้านใหญ่ ขนมโก๋กินแล้วฟันขาวของตากี้โด่งดังไปจนถึงในเมือง ขนาดพวกหัวสมัยที่เคยโดนแอบอ้างชื่อ รู้ข่าวยังอยากลองเอง ตากี้ขายขนมโก๋ร่ำรวยจนคนเริ่มขอสูตรเอาไปดัดแปลง ทำให้มีขนมโก๋และอุปกรณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น จากที่เคยห่อกระดาษ ก็นำมาใส่กล่อง ใส่หลอดให้บีบง่ายขึ้น จากที่เคยใช้นิ้วก็เริ่มหัวมาใช้แปลงทาสีอันเล็กๆ เอามาทามาป้ายขนมโก๋ไปบนฟัน เหมือนการ”ยาเรือ” แม้ว่าภายหลังจะมีคนพยายามทำขนมโก๋เป็นสีต่างๆ แต่ขนมโก๋ยอดนิยมที่คนนำมายา หรือ ทาสีก็ยังคงเป็นสีขาว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สรุป แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ และการออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค

แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ

สารสนเทศที่นำเสนอ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว ต่างๆเหล่านี้นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งแนวทางในการออกแบบ ได้แก่
1. ควรนำเสนอสาระที่พอควรในแต่ละหน้าจอ ถ้าใส่แน่นเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง
2. กรณีที่ต้องนำเสนอเนื้อหาจำนวนมาก ควรเสนอเนื้อหานั้นเป็นกลุ่มย่อยๆและเป็นช่วงๆ
3. กรณีใช้กรอบวินโดวส์ในการนำเสนอ เพื่อวัตถุประสงค์ ได้แก่

3.1 ดึงความสนใจของผู้เรียน
3.2 ลดความแน่นของหน้าจอ
3.3 สร้างรูปแบบการนำเสนอ
4. ใช้ปุ่มที่เข้าใจง่ายและดึงความสนใจของผู้เรียน
5. นำเสนอด้วยรูปภาพ ไดอะแกรม และโฟล์ชาร์ต เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวม เข้าใจง่ายและจดจำได้
6. เทคนิคที่ช่วยนิเทศก์ผู้เรียน
6.1 วางเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆให้คงที่
6.2 วางผังหน้าจอให้สม่ำเสมอ
6.3 กำหนดรูปแบบของทัศนะบนหน้าจอให้คงที่
6.4 ใช้สีและรูปร่างเป็นตัวชี้แนะ
6.5 ใช้ป้ายหรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง
6.6 ให้มีมุมมองแบบนกมอง คือ มองได้ทั้งระยะใกล้และไกล

7. เทคนิคในการกำหนดตำแหน่งสาระบนหน้าจอ
7.1 วางสาระสำคัญในตำแหน่งที่สำคัญ
7.2 แสดงสาระที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างหน้าจอต่อหน้าจอ
7.3 วางสาระที่แสดงอยุ่ปัจจุบันไว้ในตำแหน่งคงที่
8. เมื่อต้องการแสดงสาระสำคัญที่ต้องการดึงดูดหรือนำสายตาผู้เรียน ให้ใช้เทคนิคต่างๆ
9. เทคนิคที่ช่วยในการชี้แนะสาระ
10. เทคนิคเกี่ยวกับสี

การออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค (LO)

ต้องอาศัยทีมงานในการทำงานอย่างน้อย ได้แก่
1) ผู้ชำนาญด้านเนื้อหา
2) นักออกแบบการเรียนการสอน
3) นักออกแบบกราฟิก

4) ผู้เขียนโปรแกรมขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนการพัฒนาเนื้อหา

1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.2 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดความเหมาะสมของกิจกรรม
1.4 เขียนสตอรี่บอร์ด เป็นการกำหนดสิ่งที่จะปรากฎบนหน้าจอ
1.5 เขียนโฟล์วชาร์ต ซึ่งช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน้าจอแต่ละหน้า
2. การผลิต ทีมงานจะทำงานตามสตอรี่บอร์ดและแผน ที่ได้วางไว้
2.1 ทีมงานผลิตทำการศึกษาโฟล์วชาร์ตและสตอรี่บอร์ดโดยละเอียด
2.2 ทีมงานผลิตให้คำแนะนำแก่นักออกแบบหรือหัวหน้าผู้พัฒนาคอร์สเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
2.3 กรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ทีมงานผลิตอาจแยกความรับผิดชอบงานออกเป็นชิ้นย่อยๆ จึงลงมือสร้าง และนำมารวบรวม