วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

บทความ "ยาสีฟัน"

ฟันของคนเราจริงๆแล้วมีสีดำ คนสมัยก่อนจึงชอบกินหมาก นอกจากจะช่วยบำรุงรากฟันให้แข็งแรงแล้ว ยังช่วยรักษาสีดำของฟันให้เป็นสีดำที่เนียนเงางามอีกด้วย ตากี้ แห่งหมู่บ้านคลองเกต เป็นชายตัวดำขี้โม้ ชอบกินขนมโก๋แล้วไม่บ้วนปาก ทุกมื้อเช้า กลางวัน เย็น ก่อนและหลังอาหาร ตากี้ต้องหยิบขนมโก๋ขึ้นมากิน เขาชอบรสชาติของการเลียเศษขนมโก๋ที่ติดอยู่ตามไรฟันเป็นที่สุด ตั้งแต่เด็กจนแก่ ตากี้ก็ยังกินขนมโก๋แล้วไม่บ้วนปากอยู่อย่างนั้น จนมีฟันเป็นสีขาว เป็นสีขาวตามขนมโก๋นั่นเอง ไม่มีใครคบตากี้เป็นเพื่อน เพราะตากี้มีฟันสีขาว โบราณว่าไว้ว่า “คนผมหยิก คอสั้น ฟันขาว” เป็นคนคบไม่ได้ ซึ่งตากี้มีครบทุกอย่างตามนั้น เขาจึงต้องหลบๆซ่อนๆตัวเองอยู่ในกระท่อมท้ายคลองเพียงลำพัง เขาเฝ้าฝึกปรือฝีมือการทำขนมโก๋ไว้กินเองจนชำนาญ วันเวลาผ่านเลยไป คนรุ่นใหม่ๆเกิดขึ้นมา มีเด็กอยู่กลุ่มหนึ่ง วิ่งเล่นไล่จับกันจนมาเจอตากี้ที่กระท่อม เห็นตากี้มีฟันขาวก็เลยสงสัย ตากี้อารมณ์ดีก็โม้ไปเรื่อยว่า พวกหัวสมัยใหม่ในเมืองกรุง ตอนนี้กำลังนิยมมีฟันสีขาวกันมากเด็ก ๆ อยากมีฟันสีขาวบ้าง ตากี้จึงแบ่งขนมโก๋ให้กิน เด็ก ๆ กินแล้วฟันไม่ขาว ตากี้บอกฟัน จะขาวได้ต้องกินขนมโก๋แบบไม่บ้วนปากนานเป็นสิบ ๆ ปี เด็กๆบ่นรอไม่ไหว ตากี้จึงผสมสูตรทำขนมโก๋ขึ้นมาใหม่ เป็นขนมโก๋แบบเหนียวๆ คราวนี้กินครั้งเดียว ฟันขาวติดทนนาน แม้จะบ้วนปากกี่ครั้งก็ยังขาวอยู่ เด็กๆชอบใจ เอาฟันขาวไปอวดพ่อแม่ตอนแรกก็โดนด่า แต่พอบอกว่าตอนนี้พวกหัวสมัยในเมืองเขานิยม พ่อแม่ก็เลยอยากทันสมัยกับเขาบ้าง จากหมู่บ้านเล็ก ขยายไปหมู่บ้านใหญ่ ขนมโก๋กินแล้วฟันขาวของตากี้โด่งดังไปจนถึงในเมือง ขนาดพวกหัวสมัยที่เคยโดนแอบอ้างชื่อ รู้ข่าวยังอยากลองเอง ตากี้ขายขนมโก๋ร่ำรวยจนคนเริ่มขอสูตรเอาไปดัดแปลง ทำให้มีขนมโก๋และอุปกรณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น จากที่เคยห่อกระดาษ ก็นำมาใส่กล่อง ใส่หลอดให้บีบง่ายขึ้น จากที่เคยใช้นิ้วก็เริ่มหัวมาใช้แปลงทาสีอันเล็กๆ เอามาทามาป้ายขนมโก๋ไปบนฟัน เหมือนการ”ยาเรือ” แม้ว่าภายหลังจะมีคนพยายามทำขนมโก๋เป็นสีต่างๆ แต่ขนมโก๋ยอดนิยมที่คนนำมายา หรือ ทาสีก็ยังคงเป็นสีขาว ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สรุป แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ และการออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค

แนวทางของการออกแบบองค์ประกอบทางทัศนะ

สารสนเทศที่นำเสนอ เช่น ข้อความ ภาพนิ่ง วีดิทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว ต่างๆเหล่านี้นับได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน ซึ่งแนวทางในการออกแบบ ได้แก่
1. ควรนำเสนอสาระที่พอควรในแต่ละหน้าจอ ถ้าใส่แน่นเกินไปจะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลง
2. กรณีที่ต้องนำเสนอเนื้อหาจำนวนมาก ควรเสนอเนื้อหานั้นเป็นกลุ่มย่อยๆและเป็นช่วงๆ
3. กรณีใช้กรอบวินโดวส์ในการนำเสนอ เพื่อวัตถุประสงค์ ได้แก่

3.1 ดึงความสนใจของผู้เรียน
3.2 ลดความแน่นของหน้าจอ
3.3 สร้างรูปแบบการนำเสนอ
4. ใช้ปุ่มที่เข้าใจง่ายและดึงความสนใจของผู้เรียน
5. นำเสนอด้วยรูปภาพ ไดอะแกรม และโฟล์ชาร์ต เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเห็นภาพรวม เข้าใจง่ายและจดจำได้
6. เทคนิคที่ช่วยนิเทศก์ผู้เรียน
6.1 วางเนื้อหาและองค์ประกอบต่างๆให้คงที่
6.2 วางผังหน้าจอให้สม่ำเสมอ
6.3 กำหนดรูปแบบของทัศนะบนหน้าจอให้คงที่
6.4 ใช้สีและรูปร่างเป็นตัวชี้แนะ
6.5 ใช้ป้ายหรือสัญลักษณ์บอกตำแหน่ง
6.6 ให้มีมุมมองแบบนกมอง คือ มองได้ทั้งระยะใกล้และไกล

7. เทคนิคในการกำหนดตำแหน่งสาระบนหน้าจอ
7.1 วางสาระสำคัญในตำแหน่งที่สำคัญ
7.2 แสดงสาระที่เปลี่ยนแปลงไประหว่างหน้าจอต่อหน้าจอ
7.3 วางสาระที่แสดงอยุ่ปัจจุบันไว้ในตำแหน่งคงที่
8. เมื่อต้องการแสดงสาระสำคัญที่ต้องการดึงดูดหรือนำสายตาผู้เรียน ให้ใช้เทคนิคต่างๆ
9. เทคนิคที่ช่วยในการชี้แนะสาระ
10. เทคนิคเกี่ยวกับสี

การออกแบบและพัฒนาเลิร์นนิ่ง อ๊อบเจ็ค (LO)

ต้องอาศัยทีมงานในการทำงานอย่างน้อย ได้แก่
1) ผู้ชำนาญด้านเนื้อหา
2) นักออกแบบการเรียนการสอน
3) นักออกแบบกราฟิก

4) ผู้เขียนโปรแกรมขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนการพัฒนาเนื้อหา

1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
1.2 กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
1.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อกำหนดความเหมาะสมของกิจกรรม
1.4 เขียนสตอรี่บอร์ด เป็นการกำหนดสิ่งที่จะปรากฎบนหน้าจอ
1.5 เขียนโฟล์วชาร์ต ซึ่งช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน้าจอแต่ละหน้า
2. การผลิต ทีมงานจะทำงานตามสตอรี่บอร์ดและแผน ที่ได้วางไว้
2.1 ทีมงานผลิตทำการศึกษาโฟล์วชาร์ตและสตอรี่บอร์ดโดยละเอียด
2.2 ทีมงานผลิตให้คำแนะนำแก่นักออกแบบหรือหัวหน้าผู้พัฒนาคอร์สเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
2.3 กรณีที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ ทีมงานผลิตอาจแยกความรับผิดชอบงานออกเป็นชิ้นย่อยๆ จึงลงมือสร้าง และนำมารวบรวม

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ตัวอย่าง CMS , LMS , LCMS

ตัวอย่างของ CMS
ตัวอย่างของ LMS

ที่มา : http://edtech.pn.psu.ac.th/lms/


ตัวอย่างของ LCMS

ที่มา : http://www.atutor.ca/

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ CMS,LMS,LCMS

CMS มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การจัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่าง

LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน
LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ความหมายของ CMS,LMS,LCMS

1. CMS ; Content Management System



Content management system,CMS คือระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ที่ใช้เพื่อจัดระเบียบ และส่งเสริมการทำงานในหมู่คณะ ให้สามารถสร้างเอกสาร หรือเนื้อหาสาระอื่นๆ โดยมากแล้ว ระบบจัดการเนื้อหา มักจะเป็นเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งใช้จัดการเว็บไซต์และเนื้อหาบนเว็บ และมีไม่น้อยที่ระบบจัดการเนื้อหาต้องใช้ซอฟแวร์พิเศษบนเครื่องเครื่องลูกข่าย เพื่อใช้แก้ไขและสร้างบทความต่างๆ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/CMS

2. LMS ; Learning Management System

LMS เป็นคำที่ย่อมาจาก Learning Management System หรือระบบการจัดการเรียนรู้ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ จะประกอบด้วยเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลระบบ โดยที่ผู้สอนนำเนื้อหาและสื่อการสอนขึ้นเว็บไซต์รายวิชาตามที่ได้ขอให้ระบบ จัดไว้ให้ได้โดยสะดวก ผู้เรียนเข้าถึงเนื้อหา กิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยผ่านเว็บ ผู้สอนและผู้เรียนติดต่อ สื่อสารได้ผ่านทางเครื่องมือการสื่อสารที่ระบบจัดไว้ให้ เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ห้องสนทนา กระดานถาม - ตอบ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ การเก็บบันทึกข้อมูล กิจกรรมการเรียนของผู้เรียนไว้บนระบบเพื่อผู้สอนสามารถนำไปวิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการเรียนการสอนในรายวิชานั้นอย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา : http://www.kroobannok.com/1585


3. LCMS : Learning Content Management System


Learning Content management system คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้างสามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น
ที่มา : http://gotoknow.org/blog/orapan2525/301964

มาตกแต่งภาพง่ายกับ slide.com

มาแต่งภาพง่ายๆ กับ www.slide.com

ขั้นตอนที่ 1 Browse รูปที่ต้องการจะตกแต่ง

ขั้นตอนที่ 2 เลือกคลิกคำว่า "สติ๊กเกอร์" แล้วเลือกของตกแต่งตามใจชอบ


ขั้นตอนที่ 3 เลือกคำว่า" โปสเตอร์" แล้วปรับแต่งโปสเตอร์ของเราตามใจชอบ


ขั้นตอนที่ 4 เลือกคำว่า "หลากหลายรูป" แล้วเลือกตามใจชอบในที่นี้เลือก "Paparazzi"



ขั้นตอนที่ 5 เมื่อตกแต่งรูปเสร็จแล้วกด "บันทึก"





ขั้นตอนที่ 6 ใช้อีเมล์ของเราลงทะเบียนเพื่อจขอรหัสรูปของเรา





ขั้นตอนที่ 7 Copy Code ไปใส่ในblog ของเรา เป็นอันเสร็จ





นี่คือภาพที่แต่งเสร็จสมบูรณ์









วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความแตกต่าง

1. E-Learning กับ Web Base Instruction (WBI)

ความเหมือน จะใช้การเรียน การสอนจากเว็ปหรือจากเครือข่ายอินเตอร์ซึ่งสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเช่น การเรียนรู้ด้วยคอมพิวเตอร์ และสื่ออิเล็คทรอนิค

ความแตกต่าง ได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย เรียนได้ทุกเวลา และ ทุกสถานที่




2.Computer Assisted Instruction (CAI) กับComputer Manage instruction (CMI)
ความเหมือน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบในการสอน




ความแตกต่าง CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบในการสอน ใช้ในลักษณะของการฝึกทดลอง การจำลองผลแต่ไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยจัดการด้านการเรียนทั้งหมด ส่วน CMI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการกับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งรวมไปถึงการทดสอบวัดผล เก็บบันทึกข้อมูลในการเรียนการสอน


3.Web Base Instruction (WBI) กับComputer Assisted Instruction (CAI)
ความเหมือน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบในการสอน



ความแตกต่าง WBI สามารถทำการสื่อสารได้อย่างไร้พรมแดน โดยผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนด้วยกันและยังสามารถรับส่งข้อมูลการศึกษาอิเล็คทรอนิค อย่างไม่จำกัดเวลา ไม่จำกัดสถานที่ ส่วน CAI เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบในการสอน โดยใช้ในลักษณะแสดงการสาธิตและมิได้ออกแบบเพื่อการสื่อสารถึงกัน




4. Computer Assisted Instruction (CAI) กับ Mobile Learning (M-Learning)


ความเหมือน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบในการสอน

ความแตกต่าง CAI เป็นการเรียนการสอนแบบสาธิต โดยไม่ได้ใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นสื่อทั้งหมด ส่วน M-Learning เป็นการจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป